แชร์ทริค ! แบ่งเงินลงทุนระยะสั้น – กลาง – ยาว เพื่อชีวิตที่มั่งคั่งและมั่นคง
1 min read

แชร์ทริค ! แบ่งเงินลงทุนระยะสั้น – กลาง – ยาว เพื่อชีวิตที่มั่งคั่งและมั่นคง

หลาย ๆ คนเริ่มเก็บเงินจากการแบ่งเก็บจากเงินเดือน 10% บ้าง 20% บ้าง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ แต่เพื่อให้เก็บเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราควรมีการแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ ตามแต่ละเป้าหมายเป็นระยะสั้น – กลาง – ยาวเพิ่มเติมด้วย วันนี้มีตัวอย่างมาให้ดูว่า ควรแบ่งเงินลงทุนแบบไหน เท่าไหร่กันบ้าง เพื่อให้การเก็บเงินเป็นไปตามที่วางแผนไว้

ตัวอย่าง แบ่งเงินลงทุน 5,000 บาทต่อเดือน

วิธีการแบ่งเงินลงทุนที่ถูกต้องคือ รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย ถ้าสมมุตว่ามีเงินเดือน 30,000 บาท ให้หักเงินออมออกก่อน เช่น 5,000 บาทต่อเดือน นอกนั้นถึงจะเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าเช้าห้อง ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยเราจะแบ่งเงิน 5,000 บาทออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้



1. ระยะสั้น (1-3 ปี)

20% (1,000 บาท) แบ่งเงินลงทุนส่วนนี้ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อในกรณีที่เจ็บป่วยหรือตกงาน เก็บไว้ประมาณ 6 – 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
เก็บที่ไหน : แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือซื้อประกันสุขภาพไว้ดูแลตอนเจ็บป่วย

2. ระยะกลาง (3-7 ปี)

50% (2,500 บาท) แบ่งเงินลงทุนส่วนนี้ไว้สำหรับเตรียมพร้อมซื้อบ้าน หรือแต่งงาน สร้างครอบครัว อย่างที่ทราบกันดีว่าส่วนมากมักจะไม่ใช้เงินในการยื่นกู้ซื้อบ้านเลย จะมีแค่เงินจองกับเงินทำสัญญาหลักหมื่นเท่านั้น แต่เงินที่ให้เตรียมไว้ในส่วนนี้คือเงินที่ใช้สำหรับการซื้อข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ หรือตกแต่งบิ้วอินบ้าน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกู้เพิ่มหรือเป็นหนี้เพิ่มนั่นเอง
เก็บที่ไหน : แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตรรัฐบาล

3. ระยะยาว (7 ปีขึ้นไป)

30% (1,500 บาท) แบ่งเงินลงทุนส่วนนี้ไว้ใช้ยามเกษียณอายุตอนอายุ 60 ปี โดยต้องออมทเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ไปอีกกี่ปี โดยอาจจะอิงจากอายุของคนที่มีอายุเยอะที่สุดในครอบครัวเราก็ได้ เช่น คาดว่าจะเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี แสดว่าเราต้องเก็บเงินเพื่อใช้ตอนเกษียณ 20 ปี สมมุตว่าอยากใช้เดือนละ 20,000 บาท ต้องมีเงินเก็บประมาณ 4,800,000 บาท เป็นต้น
เก็บที่ไหน : แนะนำลงทุนระยะยาวในกองทุนรวม RMF, ประกันบำนาญ, หุ้นปันผลดี หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของรายได้และรายจ่ายของแต่ละคน


Opportunity for Investment : คัดสรรโอกาสการลงทุน เพื่อ “นักลงทุน”

คว้าโอกาสการลงทุน ที่นักลงทุนควรได้รับรู้ และทุกข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน การลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเป็นเครื่องมือ ชี้วัดความสำเร็จ และการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต…

กดติดตามช่องทางการรับชม เพื่อได้รับข้อมูลที่น่าสนใจ…

FACEBOOK : https://web.facebook.com/finnomenaopportunity

YOUTUBE : https://www.youtube.com/@TheOpportunityTH

X : https://twitter.com/opportunityth

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *