THG ร่วงแรงกว่า 15% หลังบริษัทฯ แบ็คลิสต์บัญชีต้องสงสัย 105 ล้านบาท และพบปล่อยกู้ธุรกิจกลุ่ม “วนาสิน”- จัดซื้อสินค้าแต่ไม่ได้มีการรับมอบจริง
1 min read

THG ร่วงแรงกว่า 15% หลังบริษัทฯ แบ็คลิสต์บัญชีต้องสงสัย 105 ล้านบาท และพบปล่อยกู้ธุรกิจกลุ่ม “วนาสิน”- จัดซื้อสินค้าแต่ไม่ได้มีการรับมอบจริง

THG ร่วงแรงกว่า 15% หลังบริษัทฯ แบ็คลิสต์บัญชีต้องสงสัย 105 ล้านบาท และพบปล่อยกู้ธุรกิจกลุ่ม “วนาสิน”- จัดซื้อสินค้าแต่ไม่ได้มีการรับมอบจริง

บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจากการตรวจพบรายการต้องสงสัยโดย เมื่อวันที่ 23 ส.ค.67 คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบข้อมูลการทำรายการอันควรสงสัยของบริษัทย่อย 2 แห่ง

ได้แก่ (ก) บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง จำกัด (THB) ซึ่ง THG ถือหุ้น 83.03% และ (ข) บริษัท ที เอช เฮลท์ จำกัด (THH) ซึ่ง THG ถือหุ้น 51.22%

ประกอบด้วย

(ก) THB และ THH ให้กู้ยืมเงินแก่ บริษัท ราชธานีพัฒนาการ (2014) จำกัด (RTD) ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มครอบครัววนาสินเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในเดือนธันวาคมปี 65-ปี 66 จำนวน 6 รายการ คิดเป็นยอดเงินรวม 145 ล้านบาท

(ข) THB ให้กู้แก่ บริษัท ไทย เมดิเคิล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งมี RTD เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปี 66 จำนวน 1 รายการ คิดเป็นยอดเงินรวม 10 ล้านบาท

(ค) THH สั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในสิงคโปร์ แต่ไม่ได้มีการรับมอบสินค้าจริง ในปี 66 จำนวน 2 รายการ คิดเป็นยอดเงินรวม 55 ล้านบาท

การเข้าทำรายการอันควรสงสัยตามข้างต้น เป็นการดำเนินการโดยฝ่ายบริหารบางส่วนของบริษัทย่อย ซึ่งเป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทย่อย

ไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศเรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกันของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ (ก.ล.ต.) และไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทฯ

ณ ปัจจุบัน ยอดหนี้คงค้างของรายการอันควรสงสัยดังกล่าวรวมทั้งสิ้นประมาณ 105 ล้านบาท (ไม่นับรวมดอกเบี้ย)

บริษัทฯ ได้แจ้งให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ทราบถึงรายการอันควรสงสัยดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 และบริษัทฯ ขอให้ผู้สอบบัญชีให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายการอันควรสงสัยดังกล่าว โดยบริษัทคาดว่าหากมีผลกระทบจะสามารถเปิดเผยในงบการเงินรวมของไตรมาส 3/67 ที่กำลังจะจัดทำและเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบต่อไป

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เริ่มดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ที่ตรวจพบเพื่อรักษามาตรฐานในการบริหารจัดการ ดังนี้

1.โยกย้ายบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการอันควรสงสัยให้ออกจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องทันที

2.สอบสวนข้อเท็จจริง และอยู่ระหว่างการดำเนินการทางวินัย และ/หรือทางกฎหมายต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำรายการอันควรสงสัยดังกล่าวจนถึงที่สุด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯและผู้ถือหุ้น

3. เน้นย้ำและกำชับให้บุคคลากรของบริษัทและบริษัทย่อย ปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องกับการด เนินงานของบริษัทย่อยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องถูกดำเนินการทางวินัย และ/หรือทางกฎหมาย อย่างเด็ดขาด

4.อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และความเสี่ยงโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การดำเนินธุรกิจ และความเสี่ยงด้านกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทสามารถจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจจ้างที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกตามความเหมาะสมเพื่อให้ความช่วยเหลือในการวางแผนแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงเพิ่มเติม

================

THE Opportunity Channel

.

Opportunity for Investment : คัดสรรโอกาสการลงทุน เพื่อ “นักลงทุน”

.

คว้าโอกาสการลงทุน ที่นักลงทุนควรได้รับรู้ และทุกข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน การลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะเป็นเครื่องมือ ชี้วัดความสำเร็จ และการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต…

กดติดตามช่องทางการรับชม เพื่อได้รับข้อมูลที่น่าสนใจ…

WEBSITE : https://www.theopp.co/

FACEBOOK : https://web.facebook.com/finnomenaopportunity

YOUTUBE : https://www.youtube.com/@TheOpportunityTH

X : https://twitter.com/opportunityth

#SET #mai #Stock  #IPO  #หุ้น #หุ้นกู้ #ตราสารหนี้ #theopportunity #กองทุนรวม #SSF #RMF  #ESG #ทองคำ #พันธบัตร #ข่าวหุ้น   #การเงินลงทุน #เศรษฐกิจ #การเมือง #ต่างประเทศ #ความรู้ #ข่าว  #set100 #set50 #ออมหุ้น #ออมทอง #เกษียญ #ลงทุนนอก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *